วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการเลือกรองเท้าวิ่ง

   หลายคนอาจสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายเป็นอย่างมากในปัจจุบันซึ่งวิธีการออกกำลังกายที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลกเลยก็คือการวิ่งออกกำลังกายวันนี้ผมมวิธีการเลือกรองเท้าวิ่งที่เหมาะสมกับแต่ล่ะคนกันซึ่งจะมีเทคนิคการเลือกการอย่างไรนั้นเรารองมาดูกันเลยครับ

1.เราควรที่จะเลือกรองเท้าวิ่งให้เหมาะกับสภาพพื้นที่เราจะออกไปวิ่งออกกำลังกาย
     ในการวิ่งออกกำลังกายนั้นสภาพพื้นของสถานที่จะแตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกับรองเท้าที่มีการออกแบบมาให้เหมาะกับแต่ล่ะพื้นที่ เรารองมาดูว่ามีพื้นแบบไหนกันบ้างเลยดีกว่าครับ
   -พื้นแบบ Road/Indoor
 ควรใช่รองเท้าแบบพื้นเรียบ ไม่มีปุ่มอะไรมากมายเพื่อให้สะดวกต่อการวิ่ง


   -พื้นแบบ Trail
 ควนใช่รองเท้าที่มีปุ่มนิดหน่อยเพื่อป้องกันการลื่นในการวิ่งบนพื้นหญ้าหรือพื้นที่เป็นดินซึ่งพื้นของการวิ่งอาจไม่เรียบแบบพื้นของ Road/Indoor


2.เลือกรองเท้าให้เหมาะกับระยะทางการวิ่ง สั้น/ยาว ซึ่งมีวิธีการเลือกที่แตกต่างกัน
  -ระยะสั้น 
 ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นไม่สูงมากนักตามรูปด้านล่างและเพื่อประคองข้อเท้าและควบคุมจังหวะการวิ่งทางเลี้ยวหรือทางโค้งเพื่อให้เท้าอยู่ในรูปทรงที่ถูกต้อง

   -ระยะยาว
 ควรเลือกรองเท้าที่ออกแบบมาให้กระชับกับข้อเท้าของเราและรองรับน้ำหนักในการกดทับซ้ำๆ ติดต่อกันเพื่อคอยพยุงและเซฟข้อเท้าของเราเอง
3.ต้องเตรียมถุงเท้าที่จะใช่วิ่งจริงไปด้วย 
    เพราะจริงแล้วถุงเท้ามีหลายแบบมากไม่ว่าจะข้อสั้นหรือยาวเพราะถุงเท่าจะช่วยลดการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าของเราขณะวิ่งออกกำลังกายและยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการวิ่งได้ด้วย
  -ตัวอย่างถุงเท้าสำหรับวิ่งระยะทางไกล

4.ควรรู้ลักษณะของเท้าเราขณะวิ่งออกกำลังกาย
 การเคลื่อนที่ของเท้าเราขณะวิ่งนั้นหรือที่เรียกว่า Pronation แบ่งออกเป็น 4 แบบ
  -Underpronation เป็นลักษณะการวิ่งแบบทิ้งน้ำหนักไล่จากบริเวณส้นเท้าผ่านส้นเท้าด้านนอกไปจนถึงปลายเท้า

  -Neutralpronation เป็นลักษณะการวิ่งที่ทิ้งน้ำหนักไล่จากส้นเท้าผ่านผ่าเท้าไปยังปลายเท้า

  -Overpronation เป็นลักษณะของการวิ่งแบบทิ้งน้ำหนักไล่จากส้นเท้าผ่านส้นเท้าด้านในผ่านไปยังปลายเท้า
   

  -Severepronation เป็นลักษณะการวิ่งเช่นเดียวกับแบบ Overpronation แต่การวิ่งจะลงน้ำหนักเพื่อเร่งความเร็วและผ่อนน้ำหนักลงเป็นจังหวะสั้นๆ การวิ่งในลักษณะนี้จะได้รับแรงกระแทกมากกว่าแบบ Overpronation

ขอบคุณรูปจาก http://www.ohlor.com






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น